• ชิเชน อิตซา เม็กซิโก สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

    ชิเชน อิตซา เม็กซิโก สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

    ชิเชนอิตซา (Chichen Itza) เป็นภาษามายา แปลว่า ต้นทางแห่งความสุขสบายของประชาชน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก เป็นแหล่งโบราณคดีที่สร้างขึ้นโดยชาวมายันซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเทพเจ้า ชิเชนอิตซา มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมลดขั้นเป็นชั้นๆ ดูไปดูมาคล้ายๆ กับพีระมิดที่อิยิปต์ แต่การสร้าง และวัสดุนั้นต่างออกไป ที่นี่มีพื้นที่ราว 6.4 ตารางกิโลเมตร วิหารที่ใหญ่สุดมีชื่อว่า วิหารแห่งนักรบ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากสร้างวิหารเก่าแห่งชักโมล ตรงกลางสร้างเป็นปราสาทเหลี่ยมทึบสูงขึ้นไป ใช้เป็นที่ทำพิธีสังเวยเทพเจ้าโดยใช้เด็กสาวโยนลงไปถวายเทพเจ้า ณ ที่นั้น นอกจากนี้ในส่วนของพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคาน ซึ่งถือเป็นพีระมิดแห่งสุดท้าย และเป็นพีระมิดที่กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายาด้วย

    Read More

  • อินโดนีเซียย้ายเมืองหลวงไป ‘นูซันตารา’

    อินโดนีเซียย้ายเมืองหลวงไป ‘นูซันตารา’

    ในมิติของการพัฒนาเมือง ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นไม่ค่อยบ่อยคือ ‘การย้ายเมืองหลวง’ เพราะภาครัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ แถมยังต้องโยกย้ายสิ่งอำนวยความสะดวกและประชากรนับล้านคน แต่การย้ายศูนย์กลางประเทศก็เป็นแนวคิดที่หลายเมืองใหญ่หันมาพิจารณา เนื่องจากต้องการแก้ปัญหาเมืองที่ซับซ้อน รวมถึงหนีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีการถกเถียงกันถึงความจำเป็นในการย้ายเมืองหลวง เพราะผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่ากรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการจากภาครัฐว่าจะย้ายเมืองหลวงจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ประเทศที่จะเริ่มย้ายเมืองหลวงเร็วๆ นี้คือ ‘อินโดนีเซีย’ โดย โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ประกาศแผนการนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019 จากนั้นก็ดำเนินการย้ายที่ตั้งเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่ที่ทั่วโลกจะได้ยลโฉมกันมีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซียนั่นเอง สาเหตุสำคัญที่อินโดนีเซียต้องย้ายศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจ เกิดจากปัญหาความแออัดและจำนวนประชากรในกรุงจาการ์ตาที่มีมากเกินไป…

    Read More

  • สนธิสัญญาหยุดมลพิษพลาสติก จะเกิดขึ้นจริง

    สนธิสัญญาหยุดมลพิษพลาสติก จะเกิดขึ้นจริง

    มลพิษจากพลาสติกเปรียบเสมือนโรคระบาดที่นานาชาติกำลังเร่งหาแนวทางการรักษา โดยหนึ่งในความพยายามที่เกิดขึ้นโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ที่เริ่มเจรจา สนธิสัญญาในการยุติมลพิษจากพลาสติก จากจุดนั้น สหประชาชาติได้ตั้งเป้าหาข้อสรุปอย่างเป็นทางการภายในปีนี้ โดยมี 175 ประเทศที่เห็นพ้องต้องกันให้มีการร่างสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมายภายในปี 2024 อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวยังครอบคลุมถึงเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมภายในวงจรชีวิตของพลาสติก รวมถึงขั้นตอนการผลิต การออกแบบ และการกำจัดขยะด้วย ความตั้งใจนี้สอดคล้องกับรายงานของ UNEP ในปี 2022 ที่เปิดเผยว่า โลกของเราจะลดมลพิษจากพลาสติกได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2040 โดยระบุว่าขั้นตอนแรกที่โลกต้องลงมือทำคือการกำจัดพลาสติกที่ไม่จำเป็น เช่น บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไป จากนั้นต้องเพิ่มการใช้พลาสติกซ้ำอย่างขวดรีฟิล รวมถึงส่งเสริมการรีไซเคิลและเปลี่ยนมาใช้วัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกแบบเดิมๆ…

    Read More